ประวัติ ของ อาร์ทีเอส (รถดีเซลราง)

หลังจากการมาถึงของรถดีเซลรางรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดี และคล่องตัวกว่าการใช้รถจักลาก ประกอบกับความต้องการรถโดยสารใหม่มาทดแทนรถโดยสารรุ่นเก่า ในทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลอง ที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งาน การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้จัดหารถดีเซลรางรุ่นใหม่ สำหรับการทำขบวนขบวนรถชานเมืองสายแม่กลองโดยเฉพาะโดยได้ออกมาเป็น อาร์ทีเอส (RTS)


รถดีเซลรางรุ่นนี้ต่างจากรถรุ่นอื่น ๆ ในยุคนั้นอย่างมากเพราะตัวถังประกอบขึ้นมาจากเหล็กกล้าไร้สนิม หรือ สแตนเลสสตีล เพื่อรองรับสภาพการใช้งานในสายชานเมืองแม่กลอง ที่มีเส้นทางใกล้ทะเล และ นาเกลือ ป้องกันการกัดกร่อนตัวถังจากไอเค็มของน้ำทะเล ที่มักจะเกิดปัญหาตัวรถผุกร่อนและเกิดสนิม ในรถรุ่นก่อน ๆ ที่ใช้ตัวถังที่เป็นเหล็กกล้าธรรมดา

การมาถึงของ อาร์ทีเอส (RTS) ทำให้เป็นต้นแบบให้รถดีเซลราง และ รถโดยสารรุ่นต่อ ๆ มา เปลี่ยนมาใช้ตัวถังที่ทำจากสแตนเลสสตีล เพื่อความคงทนและอายุการใช้งานตัวถังที่นานยิ่งขึ้น

อาร์ทีเอส (RTS) เริ่มหมดสภาพ และ ถยอยปลดระวาง ตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2543 - 2553 ปัจจุบัน อาร์ทีเอส (RTS) ปลดระวางทั้งหมด และ ย้ายไปจอดตามย่านสถานีต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2553 แม้จะปลดระวางนานแล้วแต่ตัวถังที่ทำจากสแตนเลสสตีลยังคงสภาพเดิมตามที่ออกแบบไว้

รถพ่วงดีเซลรางอาร์ทีเอส จอดเป็นรถแคมป์คาร์ ที่โรงรถจักรนครราชสีมา